รู้จัก การพูดโน้มน้าวใจ พร้อม 7 เทคนิคการพูดโน้มน้าวใจยังไงให้คล้อยตาม
ในทุกวันของชีวิตเราจำเป็นต้องใช้การสื่อสาร Communicate กับผู้คนผ่านการพูดคุยเป็นหลัก หนึ่งในทักษะการสื่อสาร คือ “การพูดโน้มน้าวใจ ” ซึ่งเราจำเป็นจะต้องทราบทักษะประเภทนี้ ก็เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เช่น ทำให้มีผู้คนเห็นด้วยกับตรรกะความคิดของเรา หรือเพื่อให้ลูกค้าซื้อสินค้าของเรา เหล่านี้เป็นต้น วันนี้เราจึงหยิบเอาการพูดโน้มน้าวใจ ประเด็นใกล้ตัวทุกคนขึ้นมานำเสนอ การพูดโน้มน้าวใจ คืออะไร การพูดโน้มน้าวใจ คือ ศาสตร์ในการสื่อสารประเภทหนึ่งที่เป็นไปในแนวของการพูดเพื่อเชิญชวน ชักจูงให้คนฟังเกิดความรู้สึกร่วมต่อประเด็นที่คนพูดต้องการสื่อ อาจจะพูดเพื่อให้เกิดความเชื่อในประเด็นที่กล่าวถึง การพูดโน้มน้าวใจจึงเป็นเสมือนการพูดโฆษณา หาเสียง หรืออาจมีวัตถุประสงค์ในการพูดเพื่อเปลี่ยนแปลงตรรกะ ทัศนคติเดิมของผู้ฟัง หรืออาจพูดเพื่อให้ผู้ฟังตระหนักถึงคุณค่าในเรื่องที่ผู้พูดกล่าวถึง อย่างไรก็ตามการพูดโน้มน้าวใจย่อมต้องเป็นไปในแนวทางของการพูดเพื่อให้คนฟังเกิดความเชื่อเดียวกัน โดยที่ไม่ต้องใช้การบังคับให้เห็นด้วยผ่านกลวิธีอื่นดังนั้นเราอาจสรุปได้ว่าการพูดโน้มน้าวใจ เป็นทักษะการพูดที่เราทุกคนสามารถฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ตลอดจนพัฒนา แก้ไขการพูดส่วนนี้ให้ออกมาดีและเป็นธรรมชาติได้ โดยอาศัยเทคนิคในการพูดโน้มน้าวใจ 7 เทคนิค การพูดโน้มน้าวใจ เบื้องต้นผู้พูดเองจะต้องสร้างความมั่นใจ ก่อนการพูด เพื่อให้สามารถโน้มน้าวคนฟังได้ ตัวเราเองจะต้องมั่นใจในสารหรือข้อมูลที่ต้องการจะส่งออกไปเสียก่อน เพราะเมื่อเราพูดอย่างมั่นใจ คนฟังก็จะเกิดความสนใจในเรื่องที่เรากำลังพูดหรือสื่อออกไปนั่นเอง กำหนดเป้าหมายในการพูดโน้มนาวใจ ยกตัวอย่าง เช่น เราต้องการพูดประเด็นที่ว่าทำไมคนเราต้องซื้อประกันสุขภาพ เป้าหมายก็เพื่อให้ผู้คนซื้อประกันกับเรา ดังนั้นเมื่อเรามีเป้าหมายแล้ว เราจึงกำหนดเนื้อหาที่เราจะพูดได้อย่างถูกต้อง คือ เราต้องหาข้อมูลความจำเป็น ข้อดีในการทำประกันสุขภาพออกมาพูดให้คนฟังเข้าใจและสนใจอยากจะทำประกันสุขภาพเพิ่มมากขึ้น จัดลำดับสิ่งที่จะพูดคร่าวๆ คิดว่าจะพูดเกริ่นนำอย่างไร ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาหลัก …
รู้จัก การพูดโน้มน้าวใจ พร้อม 7 เทคนิคการพูดโน้มน้าวใจยังไงให้คล้อยตาม Read More »