รู้จัก สตาร์ทอัพ ธุรกิจยุคใหม่ควรรู้และปรับตัว

รู้จัก สตาร์ทอัพ ธุรกิจยุคใหม่ควรรู้และปรับตัว

ที่ผ่านมาหลายคนคงได้ยินกันมาสักพักแล้วเกี่ยวกับคำว่า “ธุรกิจ สตาร์ทอัพ ” แต่คงยังมีความสงสัยหรืองงๆ อยู่ว่าคือธุรกิจอะไรกันแน่ ใช่ธุรกิจเกิดใหม่ทั่วไปเหมือนๆ กับ SMEs หรือเปล่า จริงๆ แล้วธุรกิจ Startup ได้มีคนให้ความหมายไว้ค่อนข้างหลากหลาย แต่สรุปได้คล้ายๆ กันคือ “เป็นกิจการที่เริ่มต้นธุรกิจจากจุดเล็กๆ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด ออกแบบให้ธุรกิจมีการทำซ้ำได้โดยง่าย (Repeatable) และขยายกิจการได้ง่าย (Scalable) มีการนำเทคโนโลยี และ/หรือ นวัตกรรมมาใช้เป็นหัวใจหลักในการสร้างธุรกิจ มักเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากไอเดียเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน มีโมเดลธุรกิจดี เห็นโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่มีใครเคยคิดหรือทำมาก่อน”

สตาร์ทอัพ คืออะไร?

สตาร์ทอัพ คืออะไร?

สตาร์ทอัพที่ได้ยินกันบ่อยๆ แล้วรู้หรือไม่ว่าสตาร์ทอัพคืออะไร? จริงๆ แล้วมีผู้ให้คำนิยามสตาร์ทอัพอยู่หลายเวอร์ชั่น แต่รวมๆ แล้วสตาร์ทอัพคือผู้ประกอบธุรกิจที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ และเน้นการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือความต้องการของตลาดโดยนำเสนอผลิตใหม่ๆ หรือกระบวนการให้บริการแบบใหม่ ที่เรียกว่าเป็น Innovation สตาร์ทอัพเหมือนเป็นบริษัทเล็กๆ ที่อาจมีเจ้าของคนเดียวหรือทำธุรกิจในรูปแบบ partnership ที่ถูกออกแบบให้เติบโตเร็วและสามารถลดหรือขยายขนาดได้ง่าย เรามักคุ้นเคยกับสตาร์ทอัพที่นำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ใช้เทคโนโลยีเสียเป็นส่วนมาก นั่นเป็นเพราะสตาร์ทอัพส่วนใหญ่จะเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด กลยุทธ์ทางการตลาด โดยเฉพาะใช้เทคโนโลยีในด้านต่างๆ เช่น internet, e-commerce, telecommunications หรือ robotics เพื่อทำให้สินค้าหรือบริการตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคใหม่มากขึ้น โดยกระบวนการจะเน้นการวิจัย การออกแบบ การทดลอง และการตรวจสอบยืนยันว่า innovation หรือสมมติฐานนั้นๆ สามารถใช้งานได้จริง

SME คืออะไร

SME-คืออะไร

SME คือ “Small and Medium-sized Enterprises” ซึ่งในภาษาไทยแปลว่า “องค์กรขนาดเล็กและกลาง” นั่นเองครับ คำนี้ใช้ในที่แห่งธุรกิจและเศรษฐกิจเพื่อกลุ่มองค์กรที่มีขนาดเล็กถึงกลางกว่า ขนาดของ SME มักจะต่างกันตามข้อกำหนดและระเบียบของแต่ละประเทศ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างงานและกระจายรายได้ในสังคม รวมถึงส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมและความคิดใหม่ๆ ในตลาดและอุตสาหกรรมต่างๆ ของประเทศ

สตาร์ทอัพ ต่างจาก SME อย่างไร?

สตาร์ทอัพ ต่างจาก SME อย่างไร?

ทั้งสตาร์ทอัพและ SME มีความคล้ายคลึงกันในแง่ที่เป็นองค์กรขนาดเล็กคือมีผลประการไม่มากและมีพนักงานน้อย แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองก็มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนเช่นกัน โดยแบ่งความแตกต่างออกได้ใน 3 มุม ได้แก่

INTENT (จุดมุ่งหมาย): สตาร์ทอัพมีจดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่จะโตไปสู่องค์กรขนาดใหญ่ ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการธุรกิจเดิม (disruptive) ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการบริการแบบใหม่ๆ จนไปถึงการสร้างตลาดใหม่ ในขณะที่ SME ต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง มีรายได้ที่มั่นคงในตลาดของตัวเอง (Local market)

FUNCTION (โครงสร้างองค์กร): โครงสร้างองค์กรของสตาร์ทอัพเน้นโครงสร้างที่เป็นโมเดลที่นำไปทำซ้ำได้ ขยายหรือลดขนาดได้ โดยใช้กระบวนวิจัย การตั้งสมมติฐาน การทดลอง และประเมินผล นั่นแปลว่าสตาร์ทอัพนั้นๆ อาจประสบความสำเร็จกลายเป็นองค์กรขนาดใหญ่ถ้าสมมติฐานที่ตั้งไว้ถูก แต่ถ้าสมมติฐานและการทดลองผิดพลาดอาจต้องล้มเลิกและต้องเริ่มต้นหาโอกาสหรือสมมติฐานใหม่ๆ ในขณะที่ SME มีโครงสร้างองค์กรที่เน้นในเรื่องการส่งมอบคุณค่าให้กับกลุ่มลูกค้าของตัวเอง ดังนั้นโครงสร้างองค์กรของ SME จึงไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ หรือต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

FUNDING (การหาเงินทุน): สำหรับสตาร์ทอัพเพื่อที่จะสามารถเติบโตเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการได้ ต้องมีการระดมหรือหาเงินทุน หาผู้ร่วมลงทุนทั้งการแชร์ผลกำไร หรือการหานักลงทุนมาลงทุนในโครงการ ในขณะที่ SME เจ้าของธุรกิจจะดำเนินธุรกิจด้วยตัวเองหาเงินทุนเอง ซึ่งอาจเป็นเงินทุนส่วนตัวหรือการกู้ยืมจากธนาคาร

สตาร์ทอัพหาเงินทุนอย่างไร?

สตาร์ทอัพ หาเงินทุนอย่างไร?

ในการหาเงินลงทุนสำหรับธุรกิจนั้น นิยมใช้การระดมทุนจากนักลงทุน เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เน้นไอเดีย หากมีนักลงทุนที่สนใจไอเดีย ก็จะร่วมลงทุนในธุรกิจโดยมีข้อแลกเปลี่ยนเป็นส่วนแบ่งเงินกำไรที่จะได้ในอนาคต ซึ่งนักลงทุนที่เป็นแหล่งเงินทุนให้นั้นมี 2 ประเภท ได้แก่

  • Angel Investor : คือ นักลงทุนที่ร่วมลงทุนตั้งแต่เห็นไอเดียของธุรกิจ โดยให้เงินลงทุนมาเพื่อทำธุรกิจ ซึ่งเป็นนักลงทุนแบบที่คนทำ Startup ต้องการ เพราะเห็นคุณค่าในไอเดียธุรกิจนั่นเอง
  • Venture Capital : คือ นักลงทุนที่มีเงินลงทุนจำนวนมากถึงระดับเป็นร้อยล้านบาท แต่ไม่ค่อยลงทุนกับสิ่งที่มีความเสี่ยงมากนัก อย่างน้อยต้องพอเห็นแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จจึงร่วมลงทุน โดยเมื่อร่วมลงทุน นักลงทุนจะเหมือนหุ้นส่วนของกิจการที่ผลักดันธุรกิจเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แล้วค่อยขายหุ้นเพื่อทำกำไร

นอกจากการหาเงินจากนักลงทุนแล้ว ผู้ทำธุรกิจยังสามารถหาเงินทุนได้จากช่องทางอื่นๆ อีก ดังนี้

  • เงินทุนจากหน่วยงานต่างๆ: ในที่นี้ต้องเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ โดยเป็นทั้งหน่วยงานจากภาครัฐและเอกชน
  • การกู้เงินจากธนาคาร: แต่อาจจะกู้ได้ยากเนื่องจากธุรกิจ Startup ไม่มีหลักประกันที่แน่นอน
  • หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ: เป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นให้เกิดผู้ประกอบการใหม่
  • ตลาดหลักทรัพย์: ผู้ทำธุรกิจต้องออกตราสารหนี้เพื่อนำเงินจากตราสารหนี้ไปใช้ในธุรกิจ และผู้ที่ถือตราสารหนี้จะได้เงินปันผลเป็นสิ่งตอบแทน ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของธุรกิจ

ธุรกิจ Startup เป็นรูปแบบธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับคนรุ่นใหม่ เพราะเน้นไอเดียเป็นสำคัญ สำหรับบางคนถือได้ว่าเป็นธุรกิจที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ทีเดียว เพราะบางอย่างก็เป็นนวัตกรรมใหม่จากการเห็นโอกาสที่ไม่เคยมีมาก่อน ดังเช่น Facebook และ Instagram ที่มีอิทธิพลต่อสังคมและการเปลี่ยนแปลงของโลกโซเชียลมีเดียอย่างมาก การทำธุรกิจ Startup จึงเป็นที่ใฝ่ฝันของหลายๆ คนที่มีไอเดียที่จะพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางใดทางหนึ่ง